อาจารย์ ดร.สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
ประธานสาขาวิชา

อาจารย์ ดร.เพ็ญนภาสวนทอง

ประธานสาขา

อาจารย์ ดร .อมร หวังอัครางกูร

อาจารย์ ดร.มาดล จรูญรัตน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐดนัย พยัฆพันธ์

.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวพล ทองอินทราช

ลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตทางรัฐศาสตร์เป็นผู้มีวิสัยทัศน์และศักยภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในระดับท้องถิ่นภูมิภาคและประเทศ เป็นผู้นำในการสร้างสังคมพลเมืองบนพื้นฐานของประชาธิปไตยภายใต้หลักธรรมาภิบาล หลักสูตรปัจจุบันคือ รัฐศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 มีการดำเนินการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามองค์ประกอบในการประกันคุณภาพ ระดับหลักสูตร ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

          ในปีการศึกษา 2564 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน ดังนี้

  1. นายณัฐดนัย พยัฆพันธ์ ประธานกรรมการหลักสูตร
  2. นายมาดล จรูญรัตน์ กรรมการหลักสูตร
  3. นายกฤษณพงษ์ วิชัยดิษฐ กรรมการหลักสูตร
  4. นายธุวพล ทองอินทราช กรรมการหลักสูตร
  5. นางสาวเพ็ญนภา สวนทอง                    กรรมการและเลขานุการหลักสูตร

 

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์

ปรัชญา      

บัณฑิตทางรัฐศาสตร์เป็นผู้มีวิสัยทัศน์และศักยภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นภูมิภาคและประเทศ เป็นผู้นำในการสร้างสังคมพลเมืองบนพื้นฐานของประชาธิปไตยภายใต้หลักธรรมาภิบาล

วิสัยทัศน์

พัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับท้องถิ่นภูมิภาคและประเทศ

พันธกิจ

  1. จัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
  2. ทำงานเชิงบูรณาการทั้งการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม

เป้าประสงค์

  1. นักศึกษามีความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองเพื่อเป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่ และสามารถบูรณาการความรู้ทางรัฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
  2. นักศึกษามีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง ได้มีศักยภาพและทักษะในการทำงานและการขับเคลื่อนสังคมพลเมือง
  3. นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพและรับผิดชอบต่อสังคม